ขั้นตอนในการจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งเป็นบริษัท
- ตั้งชื่อบริษัทตามที่ต้องการ: โดยชื่อจะต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว ส่วนการยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่คุณอาศัยอยู่ หรือสามารถจองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน: หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่มีขึ้นเพื่อใช้สำหรับแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องมีการระบุที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนหุ้น และข้อมูลของผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป และต้องยื่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่นายทะเบียนแจ้งผลการรับรองชื่อบริษัท
- จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น: ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น โดยทุกคนต้องถือคนละ 1 หุ้นหรือมากกว่า จากนั้นเมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน
- จัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท: จะประกอบด้วยสาระสำคัญคือ การตั้งระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัท และอำนาจของคณะกรรมการ การเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีที่คัดเลือกมารับหน้าที่จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
- เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท: คณะกรรมการจะเข้ามาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนามบริษัท โดยทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาจริง เมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้ว ก็จะทำการขอจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีการประชุม
- ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท: ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จะคิดจากเงินทุนจำนวนแสนละ 50 บาท โดยไม่ว่าจะมีเศษเกินมากี่บาทก็ให้คิดเป็นจำนวนเต็มแสนเท่านั้น ซึ่งการชำระค่าธรรมเนียมมีเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท: ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัทและมอบหนังสือรับรองแล้ว ก็ถือว่าได้จัดตั้งบริษัทขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทจะมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ โดยสมบูรณ์ตามที่บริษัทพึงมีทุกประการ
ตัวอย่างการกรอก แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด แบบ บอจ. 1
ตัวอย่างการกรอก หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทจำกัด ภาษาอังกฤษ
แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด แบบ บอจ. 1 และ หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทจำกัด ทั้งแบบภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ สามารถดาวน์โหลดแบบไฟล์ word แล้วนำไปแก้ไข เพิ่ม ลบข้อความได้เลย เพื่อให้ครอบคลุมตามความต้องการของแต่ละคน